พื้นถนนร้อนทำยางรถยนต์ระเบิดได้หรือไม่?

 พื้นถนนร้อนทำยางรถยนต์ระเบิดได้หรือไม่?

ซื้อหวยออนไลน์ เว็บไหนดี มาที่นี้เลย เว็บหวยออนไลน์จ่ายจริง.com 900/95

     ประเทศไทยเป็นประเทศเมืองร้อน และยิ่งในหน้าร้อนก็ยิ่งทวีความร้อนเพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งทำให้พื้นถนนมีความร้อนสะสมมากขึ้นเช่นกัน แล้วยางรถยนต์ที่โดนความร้อนอยู่ตลอดเวลาจะมีโอกาสระเบิดได้จริงหรือ ลองมาหาคำตอบได้ที่บทความนี้

อากาศร้อน พื้นร้อน ยางระเบิดจริงหรือ?

     การที่ล้อรถยนต์ต้องวิ่ง และสัมผัสไปบนพื้นถนนนั้น หลายคนอาจคิดว่านั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้ยางรถระเบิดได้ง่าย แต่อากาศร้อน และความร้อนไม่สามารถทำให้ยางรถระเบิดได้ และเป็นความเชื่อที่ผิด

     การที่รถยนต์มีการวิ่งไปข้างหน้า ถึงจะสัมผัสพื้นที่ร้อนอยู่แทบจะตลอดเวลา แต่ในระหว่างที่รถเคลื่อนไปข้างหน้านั้น ก็จะได้รับแรงลมที่มาปะทะตัวล้อ และช่วยลดความร้อน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ยางรถยนต์จะทำการระเบิด

     แต่ความร้อนเองถึงแม้ว่าจะไม่ใช่สาเหตุหลักที่ทำให้ยางรถระเบิดได้โดยตรง แต่ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยทางอ้อม เมื่อล้อรถของเรารับความร้อนเป็นเวลานาน ก็อาจทำให้ล้อรถเกิดการเสื่อมสภาพได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ผิวของยางรถเกิดการตึง และมีโอกาสระเบิดขึ้นได้

สาเหตุต่างๆ ที่ทำให้ยางรถระเบิด มีอะไรบ้าง?

  1. ยางรถเสื่อมสภาพ เช่น หมดอายุการใช้งาน, มีรอยแตก, ฉีกขาด
  2. เกิดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างฉับพลัน เช่น อุณหภูมิลดลงอย่างรวดเร็ว
  3. ขับรถด้วยความเร็วที่เกินกำหนดที่ตัวยางรถจะสามารถรับได้ ซึ่งเราสามารถเช็กความเร็วที่ยางรถยนต์สามารถใช้ได้ที่หน้ายางของตัวรถ
  4. บรรทุกน้ำหนักเกินเกณฑ์การบรรทุกแบบผิดวิธีการใช้งานของตัวรถแต่ละประเภท และการบรรทุกน้ำหนักเกินเกณฑ์ที่ยางรถยนต์รับได้ทำให้ยางระเบิด
  5. สูบลมยางไม่ถูกต้องตามขนาดของล้อรถแต่ละประเภท
  6. เปลี่ยนยางรถใหม่ แต่ยังใช้จุ๊บยางอันเก่า
  7. ยางรถยนต์ได้รับความร้อนจากระบบเบรกที่ทำงานผิดปกติ
  8. ขับรถตกหลุม หรือเบียดฟุตบาทอย่างแรง

     เพื่อการขับขี่ที่ปลอดภัย ก็ควรหมั่นทำการตรวจสอบสภาพรถยนต์ ทั้งภายนอก และภายใน โดยเฉพาะการตรวจสอบล้อรถยนต์ และเติมลมยางให้ได้มาตรฐานอยู่เสมอ นอกจากเสริมสร้างความปลอดภัยแล้ว การเติมลมที่พอดียังทำให้รถไม่ทำงานหนักเกินไป ทำให้ประหยัดน้ำมัน

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เอกสารต่อใบขับขี่ 2565 ใช้อะไรบ้าง และขั้นตอนการต่อใบขับขี่

หยุดด่วน! 5 พฤติกรรมอันตรายที่ทำร้ายรถคุณโดยไม่รู้ตัว

วิธีไล่ยุงออกจากรถแบบไม่ต้องมานั่งปัดให้เสียสมาธิ